วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

งานวิจัยในชุมชน


บทที่ 1
หลักการและเหตุผล
          บนพื้นฐานของการอัญเชิญแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรง
พระราชทานให้เป็นแนวทางสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนชาวไทย และเป็นปรัชญานำทางในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) จะเห็นว่าการกระจายโอกาสที่เท่าเทียมกันของคุณภาพชีวิตประชาชน โดยกลยุทธ์การยึดคนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมที่มีฐานรากมาจากรากฐานความเข้มแข็งของชุมชนทั้งในชนบทและในเมือง (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2544 ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 - 2549 หน้า 46) ในภาคยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายสำคัญ คือ การลดสัดส่วนคนยากจนของประเทศให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 10 ของประชากรรวมในปี 2549 และเพิ่มความเข้มแข็งของชุมชนและประชาชนในระดับต่าง ๆ ให้มีความมั่นคงทางสังคม ทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ รวมทั้งมีระบบบริหารจัดการของชุมชนที่ดีให้ครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศภายในปี 2549 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2544, เรื่องเดิมหน้า 7)
          สภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ณ ไตรมาสแรกและแนวโน้มในปี 2544 บ่งชี้ถึงผลกระทบด้านข้อจำกัดของการขยายตัวของตลาดโลกต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2544 ซึ่งจะมีลักษณะสำคัญคือ มูลค่าการส่งออกของไทยในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาลดลงร้อยละ 1.3 ในไตรมาสแรก หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับสูงประมาณร้อยละ 4.25 หรือประมาณ 1.41 ล้านคน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2544, ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกและแนวโน้มในปี 2544 หน้า 1 - 3)
          จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเสริมสร้างชุมชนและสังคมให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ คุณค่าทางสังคมและจิตใจ และก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยทุกครอบครัวพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจจนก่อให้เกิดการรวมตัวเป็นความมั่นคงของชุมชน สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการลงทุนทางวัฒนธรรม นำคุณค่าและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาเสริมสร้างให้ เกิดสิ่งเหล่านี้ โดยมีวัตถุประสงค์ทั้งหมด 4 ประการคือ เพื่อให้เกิดความพอเพียงในครอบครัวและชุมชนต่าง ๆ โดยสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับชีวิตที่ประหยัด เกิดการรวมพลังกันเป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ร่วมแรงในการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา เกิดการพัฒนาภูมิปัญญาไทยในการผลิตสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น และเกิดการติดต่อร่วมมือกันระหว่างครอบครัว ชุมชนกับบริษัทห้างร้านต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือการลงทุน การบริการ การตลาด และการพัฒนาคุณภาพชีวิต (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2543, โครงการรส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจตามแนว พระราชดำริ ทฤษฎีใหม่ หน้า 1) พร้อมกันนั้นก็ได้ประกวดชุมชนวัฒนธรรมไทยดีเด่นในการรวมใจสู้ภัยเศรษฐกิจ ประจำปี 2541 และ 2542 โดยคัดเลือกได้ 29 ชุมชน
          เพื่อจะให้ชุมชนดีเด่นดังกล่าวเป็นตัวอย่างให้ชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศใช้เป็นแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิต อันจะทำให้การดำเนินชีวิตของคนไทยตอบสนองแนวพระราชดำริด้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งครอบคลุมไปยังทฤษฎีใหม่ และทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปตามเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคัดเลือกชุมชนดีเด่นเหล่านี้มาศึกษาแนวลึกทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้ได้รูปแบบและปัจจัยที่ทำให้กลุ่มชุมชนดังกล่าวประสบความสำเร็จในการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม
วัตถุประสงค์
          เพื่อศึกษารูปแบบและปัจจัยในการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอเพียงและตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ของชุมชนที่ชนะเลิศการประกวดชุมชนดีเด่นในการรวมใจสู้ภัยเศรษฐกิจระดับจังหวัด ซึ่งจะทำให้ได้ข้อเสนอแนะพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ให้แก่ชุมชน ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
เป้าหมายสำคัญของการวิจัย
ผลการวิจัยครั้งนี้จะให้คำตอบหลัก 5 ประการ คือ
1. รูปแบบในการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของชุมชนกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษารายกรณี
2. รูปแบบร่วมของชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ประมาณ 5-6 ลักษณะ
3. ปัจจัยในการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของชุมชนกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษารายกรณี
4. ปัจจัยร่วมของชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ในการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
5. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้ในการดำเนินงาน เพื่อการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
5.1 รูปแบบของการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ
5.2 ปัจจัยในการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
5.3 ผลกระทบของการใช้รูปแบบและปัจจัยในการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

ขอบเขตการวิจัย
1. พื้นที่ที่ศึกษา
สำรวจสภาพชุมชนบางโทรัด ตำบลบางโทรัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ที่ชนะเลิศการประกวดชุมชนดีเด่นในการรวมใจสู้ภัยเศรษฐกิจ ระดับจังหวัดปี พ.ศ. 2542

2. เนื้อหาที่ศึกษา
2.1 ปัจจัยความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่เป็นตัวบ่งชี้ของชุมชน
1) สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและชุมชน
(1) ประชาชนในชุมชนช่วยเหลือกันและกัน พึ่งตนเองมากที่สุด
(2) ครอบครัวพึ่งผลผลิตในครอบครัวระดับชุมชนพึ่งผลผลิตในชุมชน
(3) ประชาชนทำงานเพื่อการยังชีพโดยไม่โลภ
(4) ประชาชนมีความสุข ความภูมิใจในผลผลิต
(5) มีความเครียดน้อย ทุกข์น้อยภาระหนี้สินน้อย ป่วยน้อยลดค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล

2) ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์
(1) ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากที่สุด
(2) ไม่ผลิตหรือบริโภคเกินกำลัง ขจัดความโลภ การกู้เงินหรือการบริโภคต้องมี
ความมั่นใจว่ามีความสามารถใช้หนี้คืนได้ และหากเกิดปัญหาต้องไม่ก่อความเดือดร้อนในภายหน้า
(3) ไม่เกิดปัญหาเดือดร้อนมากจากปัจจัยภายนอก เช่น ราคาปุ๋ยจากต่างประเทศสูงขึ้นก็ไม่เดือดร้อน เพราะพึ่งตนเองโดยใช้ปุ๋ยธรรมชาติในท้องถิ่น
(4) ผลิตเพื่อบริโภค หากเหลือส่งขาย หากผลผลิตไม่พอต้องซื้อ
(5) การผลิตหรือการบริโภคต้องอยู่ในหลักของความพอดี พอในการผลิตและบริโภค
(6) มีการสร้างทักษะในการผลิตหรือบริการ
3) รายได้ของชุมชน
(1) มีพอมีกินพอใช้
(2) การออมในรูปของสหกรณ์
(3) การประสานงานจากเอกชนภายนอกเพื่อทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้แข็งแรงขึ้น
4) กำลังซื้อของใช้ที่จำเป็นของประชาชนพอเพียง
5) เสถียรภาพ / ความมั่นคงของชุมชน
(1) ไม่เกิดปัญหาเดือดร้อนมาจากปัจจัยภายนอก
(2) ไม่มีปัญหาการตกงาน
(3) สังคมสงบร่มเย็น
(4) การอพยพย้ายถิ่นมีน้อย
(5) ทรัพยากรธรรมชาติไม่ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว
(6) เป็นอิสระจากต่างประเทศ

2.2 การศึกษาด้านรูปแบบของชุมชนที่ประสบความสำเร็จจะศึกษาในองค์ประกอบต่อไปนี้
1) โครงสร้างและขนาดของชุมชน
2) รูปแบบการทำงาน การรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชน
3) การบริหารจัดการในชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ทั้งด้านการบริหารทรัพยากร
มนุษย์และการพัฒนาคุณภาพของคนในชุมชน และการสร้างผลผลิตในชุมชน ตลอดจนกระบวนการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน / ชุมชนมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา

4) การส่งเสริมและสนับสนุนในชุมชนและภายนอกชุมชนด้านคุณภาพคน การสร้างงาน สร้างรายได้ ผลผลิต การออม และสวัสดิการของชุมชน
5) การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของผลผลิต

2.3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชน
1) ปัจจัยภายในชุมชนซึ่งเป็นสิ่งสนับสนุน (หรือต่อต้าน) ภายในชุมชนที่ส่งผลให้การ
ใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอเพียง และตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ประสบผลสำเร็จ
(1) พัฒนาการและความเป็นมาของชุมชน
(1.1) พัฒนาการของชุมชน
(1.2) ประวัติและความเป็นมาของชุมชน
(1.3) การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
(1.4) วัฒนธรรมความเป็นอยู่รวมกัน การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
(1.5) ผู้นำชุมชน

(2) วิถีชีวิตและภูมิปัญญาของชุมชน
(2.1) การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ การทำงาน นิสัย ความประหยัด และความมีระเบียบวินัย
(2.2) ความเชื่อ
(2.3) ค่านิยม
(2.4) การนำความรู้ของชุมชนมาใช้ประโยชน์
(2.4.1) การนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์
(2.4.2) การนำภูมิปัญญาใหม่มาใช้ประโยชน์
(2.4.3) การบูรณาการระหว่างภูมิปัญญาเดิมและภูมิปัญญาใหม่มาใช้ประโยชน์
(3) รูปแบบกระบวนการทำงานและวิธีการในการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
(4) ปัจจัยที่เอื้อต่อการใชัวัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
(4.1) ระดับการศึกษาของคนในชุมชน
(4.2) ทัศนคติของคนในชุมชน
(4.3) การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(4.4) จำนวนทรัพยากรในชุมชน
(4.5) ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีในพื้นที่
(4.6) การมีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในสังคม
(5) คนดีและคนเก่งที่เป็นกำลังสำคัญ ในการใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจ
(5.1) จำนวน
(5.2) เสริมสร้างอะไรในชุมชน

2) ปัจจัยภายนอก ซึ่งเป็นสิ่งที่สนับสนุน (หรือต่อต้าน) ภายนอกชุมชนที่ส่งผลให้การใช้วัฒนธรรมเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอเพียง และตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ของชุมชนที่ประสบผลสำเร็จ
(1) การสนับสนุนจากภาครัฐ เอกชน และ NGO
(2) ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีภายนอก
(3) ผลของสื่อมวลชน
(4) การลงทุนจากภายนอก
(5) ความเปลี่ยนแปลง (ความเจริญ) ของชุมชน
(6) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน